วันพุธที่ 10 มีนาคม พ.ศ. 2553

ปราสาทห้วยแคนแดนอีสาน

การสูบฉีดเลือดของหัวใจเริ่มจากเส้นเลือดดำเข้าสู่หัวใจบนขวาจากหลอดเลือดเวนใหญ่ 2 เส้น คือ ซุพีเรียเวนาคาวา (superior vena cava) ที่นำเส้นเลือดมาจากส่วนหัวและแขน และอินฟีเรียเวนาคาวา(inferior vena cava)ซึ่งนำเลือดมาจากส่วนลำตัวและขา หัวใจห้องบนขวารับเลือดส่งไปหัวใจล่างขวาโดยผ่านลิ้นหัวใจ 3 แฉก เรียกว่า ไตรคัสปิดวาว โดยผ่านเส้นเลือดดำขนาดใหญ่ แล้วส่งไปยังปอด ปอดเติมออกซิเจนและฟอกเลือดให้เป็นเลือดแดง แล้วส่งเข้าเส้นเลือดแดงเข้าสู่หัวใจบนซ้าย หัวใจบนซ้ายรับและส่งไปยังหัวใจล่างซ้ายโดยผ่านลิ้นหัวใจ 2 แฉก ที่เรียกว่า ไบคัสปิดวาว ล่างซ้ายรับส่งไปเลี้ยงส่วนต่างๆของร่างกาย หรือเข้าสู่หัวใจที่เรียกว่า arotar

ปราสาทห้วยแคนแดนอีสาน

เราเดินไปถ่ายรูปรอบๆตัวปราสาท ในขณะที่มีแสงแดดจ้า และรู้สึกร้อนมากจนเหงื่อออก ขณะที่เหงื่อระเหยออกจากผิวหนังก็จะพาความร้อนออกจากร่างกาย เป็นการช่วยระบายความร้อนออกจากร่างกาย เราจึงรู้สึกเย็นขึ้นมา

คนเราจำเป็นต้องลำเลียงสารไปสู่เซลล์ตามส่วนต่างๆของร่างกาย แล้วนำสารที่ร่างกายไม่ต้องการไปกำจัดออกเช่นเดียวกับสิ่งมีชีวิตชนิดอื่น ในแต่ละวันหัวใจในร่างกายของเราจะทำหน้าที่สูบฉีดเลือดไปเลี้ยงส่วนต่างๆของร่างกาย ดังนั้นในการที่เรารับสารต่างๆ เช่น อาหาร แก๊สออกซิเจน จำเป็นต้องมีการลำเลียงสารเข้าสู่ร่างกาย

ปราสาทห้วยแคนแดนอีสาน

ในปัสสาวะของคนนอกจากจะมีน้ำและของเสียจากกระบวนการเมแทบอลิซึมแล้วอาจมีสารอื่นๆบางชนิด เช่น น้ำตาลและอัลบูมินซึ่งเป็นโปรตีน

กระเพาะปัสสาวะของคนมีความยืดหยุ่นมาก สามารถเก็บปัสสาวะได้มากถึง 700-800 ลูกบาศก์เซนติเมตร เมื่อเราเดินกลางแสงแดดจ้า เรารู้สึกว่าผิวหนังของเราร้อนมาก แต่ผิวหนังก็รักษาอุณหภมิของร่างกายเราให้คงที่เสมอ ผิวหนังจึงมีหน้าที่รักษาดุลยภาพให้คงที่เมื่อสภาพแวดล้อมภายนอกเปลี่ยนแปลง

ปราสาทห้วยแคนแดนอีสาน

เมื่อเรามีการรับประทานอาหารเข้าไป จะมีการย่อยอาหาร ย่อยเสร็จย่อมมีการขับถ่ายของเสียออกมา การขับถ่ายเป็นกระบวนการสำคัญอย่างหนึ่งที่จะช่วยรักษาดุลยภาพของร่างกาย เพราะภายในเซลล์ของสิงมีชีวิตมีปฏิกิริยาทางเคมีต่างๆเกิดขึ้นมากมาย

อากาศในขณะนั้นอยู่ในสภาพอากาศที่ร้อนจัด และเกิดการสูญเสียของเหลวในร่างกาย สภาวะเช่นนี้ทำให้ร่างกายเกิดสภาวะขาดน้ำ(dehydration ) สภาวะการขาดน้ำของร่างกายจะรุนแรงยิ่งขึ้นถ้าหากร่างกายไม่ได้รับน้ำเข้ามาทดแทนภายในระยะเวลาอันสั้น

ปราสาทห้วยแคนแดนอีสาน

เมื่อเราเดินดูรอบๆตัวปราสาทแล้ว เราก็ไปสอบถามผู้ที่ประวัติของปราสาทห้วยแคน การที่เราจะสอบถามหรือซักถามข้อมูลเกี่ยวกับปราสาทห้วยแคน เราต้องมีการพูดจา ซึ่งการพูดนี้เป็นการควบคุมภายใต้อำนาจจิตใจซึ่งเป็นการหายใจที่บังคับได้ โดยสมองส่วนหน้าที่เรียกว่า ซีรีบรัลคอร์เทกซ์ ไฮโพพาลามัส และสมองส่วนหลังส่วนที่เรียกว่า ซีรีเบลลัม ซึ่งจะทำให้เราสามารถควบคุม บังคับ หรือปรับการหายใจให้เหมาะสมกับพฤติกรรมต่างๆของร่างกาย

วันอังคารที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2553

ปราสาทห้วยแคนแดนอีสาน

ปราสาทห้วยแคนแดนอีสาน

การศึกษาภูมิปัญญาท้องถิ่นเรื่อง ปราสาทห้วยแคนแดนอีสานเชื่อมโยงกับวิชาชีววิทยา
บทที่ 6 เรื่อง การรักษาดุลยภาพในร่างกาย
การไปศึกษาภูมิท้องถิ่นเรื่องปราสาทห้วยแคนแดนอีสาน เกี่ยวข้องกับการแลกเปลี่ยนแก๊สของคน เพราะเรามีการสูดลมหายใจเข้าออกตลอดเวลาเพื่อรักษาดุลยภาพของแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์และแก๊สออกซิเจนในเซลล์และในร่างกายเรา เมื่อเราเดินเข้าไปในตัวปราสาททำให้เราหายใจไม่สะดวก เนื่องจากมีอากาศไม่เพียงพอ เพราะในตัวปราสาทมีความชื้นมากทำให้เราสูดลมหายใจไม่ค่อยได้ และส่วนมากในตัวปราสาทจะพบแต่ต้นเฟิร์นและมอสเต็มไปหมด แต่ยังดีที่ตัวปราสาทมีช่องหน้าต่างและประตูทางเข้าเพียงประตูเดียว ทำให้พอมีอากาศเข้ามาในตัวปราสาทได้ การหายใจของคนเราเริ่มจาก จมูก - โพรงจมูก - คอหอย - กล่องเสียง - หลอดลม - ขั้วปอด - ขั้วแขนงปอด - ถุงลมในปอด ขณะที่เราสูดลมหายใจเข้ากระดูกซี่โครงยกสูงขึ้น และเมื่อปล่อยลมหายใจออกกระดูกซี่โครงจะลดต่ำลง การหายใจเข้าและการหายใจออกเกิดการเปลี่ยนแปลงความดันของอากาศภายในปอด โดยการทำงานร่วมกันของกล้ามเนื้อกะบังลมและกล้ามเนื้อที่ยึดกระดูกซี่โครงแถบนอก เมื่อเราเดินดูรอบๆบริเวณตัวปราสาทขณะเดินเรามีการหายใจเข้าและหายใจออกอยู่เสมอ ซึ่งปริมาณของอากาศที่หายใจเข้าปกติแต่ละครั้งมีประมาณ 500 ลูกบาศก์เซนติเมตร การหายใจเข้าออกที่อยู่บริเวณภายนอกแตกต่างจากการหายใจเข้าออกในบริเวณภายในตัวปราสาทมาก เพราะการหายใจในตัวปราสาทเรามีการบังคับให้มีการหายใจเข้าเต็มที่มากที่สุด จะมีอากาศเข้าไปยังปอดเพิ่มมากขึ้นจนอาจถึง 6,000 ลูกบาศก์เซนติเมตร จะเห็นว่าเมื่อหายใจออกเต็มที่แล้วยังคงมีอากาศตกค้างในปอดประมาณ 1,100 ลูกบาศก์เซนติเมตร

ปราสาทห้วยแคนแดนอีสาน

รายงาน ชีววิทยา เรื่อง ปราสาทห้วยแคนแดนอีสาน

โรงเรียนห้วยแถลงพิทยาคม

เสนอ

อาจารย์ ฉวีวรรณ เคยพุดซา

จัดทำโดย
1. น.ส. ธัญฑิญา ทองจุน เลขที่ 1

2. น.ส. รัตนาภรณ์ เดชสูงเนิน เลขที่ 2

3. น.ส. จตุพร แสนโคตร เลขที่ 37

4. น.ส. จารุวรรณ หมีแก้ว เลขที่ 38

ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4/1
รายงานนี้เป็นส่วนหนึ่งของวิชา ชีววิทยา

วันจันทร์ที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2553

ปราสาทห้วยแคนแดนอีสาน

กิตติกรรมประกาศ
ในโครงงานเรื่อง ปราสาทห้วยแคนแดนอีสาน ต.ห้วยแคน อ.ห้วยแถลง จ.นครราชสีมา คณะผู้จัดทำได้คำแนะนำจากอาจารย์ ศิริพร วีระชัยรัตนา ที่ได้ให้คำปรึกษาและอำนวยความสะดวกเรื่องของเวลาและอุปกรณ์ในการจัดทำโครงงานในครั้งนี้
นาย มังกร ผู้ที่ได้ให้คำปรึกษาและเล่าประวัติความเป็นมาข้อมูลเกี่ยวกับปราสาทห้วยแคน โครงงานจึงสำเร็จไปด้วยดี คณะผู้จัดทำ ขอขอบคุณไว้ ณ โอกาสนี้ และผู้จัดทำหวังว่าโครงงานเรื่องนี้จะเป็นแนวทางในการศึกษาแก่ทุกคน

ปราสาทห้วยแคนแดนอีสาน

บทนำ

โครงงานเรื่องนี้ จัดทำขึ้นเพื่อเป็นประโยชน์แก่นักเรียน นักศึกษา เพื่อไปศึกษาค้นคว้าเรื่องประวัติศาสตร์ห้วยแคนและเป็นแนวทางในการเรียนการสอนเรื่องประวัติศาสตร์คณะผู้จัดทำหวังเป็นอย่างยิ่งว่าจะเป็นประโยชน์แก่ผู้ศึกษาเป็นอย่างยิ่ง
ถ้าโครงงานเรื่องนี้มีข้อผิดพลาดประการใดก็ได้ขออภัยไว้ ณ โอกาสนี้และขอคำแนะนำเพื่อที่จะนำไปปรับปรุงแก้ไขโครงงานเรื่องต่อไปให้ดียิ่งขึ้น

วันเสาร์ที่ 27 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

ปราสาทห้วยแคนแดนอีสาน



อภิปรายผล ประโยชน์ ข้อเสนอแนะ


อภิปรายผล


ในการทำงานครั้งนี้ กล่มดิฉันมีความตั้งใจทำมาก และเพื่อที่จะให้ผลงานออกมาดีเป็นที่สนใจของทุกคนที่มาชม แม้ว่าจะมีอุปสรรคมากมาย แต่กลุ่มดิฉันไม่เเคยย่อท้อตั้งใจทำงานต่อไปเพื่อให้งานสำเร็จตามเป้าหมาย บางทีก็รู้สึกเหนื่อยและท้อ เมื่องานมีปัญหาคิดหาวิธีที่จะแก้ไขไม่ได้ บางทีงานก็ยังไม่เสร็จตามเวลาที่กำหนด ก็ต้องยืดเวลาไปอีกไม่รู้จะได้ส่งเมื่อไหร่ แต่ก็ดีที่เพื่อนๆในกลุ่มช่วยกันทำงาน หวังให้งานนี้สำเร็จลุล่วงด้วยดี และได้คำแนะนำจาก คุณครู ศิริพร วีระชัยรัตนา ที่ให้คำปรึกษาเกี่ยวกับการทำงานในคอมพิวเตอร์ การเข้าเว็บ gotoknow blogger และ learner ทำให้กลุ่มดิฉันเข้าใจในการทำงานที่มันอาจดูยากแต่สุดท้ายมันก็ง่ายกว่าที่เราคิด ถ้าเราไม่ลองที่จะทำอะไรแล้ว มันก็ไม่สามารถบอกให้เรารู้ได้ว่ารื่องไหนง่าย เรื่องไหนยาก และสุดท้ายนี้ขอขอบพระคุณ คุณตา มังกร ที่ให้ข้อมูลเกี่ยวกับโครงงานเรื่องนี้ ถ้าไม่มีท่านกลุ่มของดิฉันคงไม่สามารถทำโครงงานนี้ได้เพราะกว่าจะได้ข้อมูลมาก็ยก ไม่รูจะไปหาที่ไหน


ประโยชน์ที่ได้รับ


ได้สืบทอดประวัติศาสตร์ของปราสาทห้วยแคน และได้ดำรงวัฒนธรรม ความเชื่อของบุคคลในท้องถิ่นที่มีต่อปราสาทห้วยแคน ได้ความรู้เกี่ยวกับประวัติของปราสาทห้วยแคน และได้รู้ถึงความเป็นชาวเขมรโบราณที่สร้างปราสาทนี้ขึ้น
























ปราสาทห้วยแคนแดนอีสาน

ความสำคัญของโครงงาน

ปราสาทห้วยแคน บ้านห้วยแคน ต.ห้วยแคน อ.ห้วยแถลง จ.นครราชสีมา เป็นโบราณสถานขนาดเล็กก่อด้วยศิลาแลงจำนวน 1 หลัง หันหน้าไปทางทิศตะวันออก มีประตูทางเข้า ด้านหน้าเพียงประตูเดียว ผนังอาคารด้านทิศใต้เจาะช่องหน้าต่าง ส่วนผนังด้านทิศเหนือก่อทึบ โบราณสถานแห่งนี้ เป็นศาสนสถานในศาสนาพุทธลัทธิมหายาน เรียกอีกชื่อหนึ่งว่า ธรรมศาลา 1 ในจำนวน 121 แห่ง ที่พระเจ้าชัยวรมันที่ 7 (ครองราชย์ระหว่างปี พ.ศ. 2724-1761) แห่งอาณาจักรเขมร โบราณโปรดให้สร้างขึ้นตามเส้นทางสำคัญๆทั่วราชอาณาจักรของพระองค์

ปราสาทห้วยแคนแดนอีสาน


ที่มาของโครงงาน

การศึกษาภูมิปัญญาท้องถิ่นเรื่องนี้ เพื่อที่จะศึกษาและเผยแพร่แหล่งประวัติศาสตร์และแหล่งโบราณคดี ของปราสาทห้วยแคน ตำบลห้วยแคน อำเภอห้วยแถลง จังหวัดนครราชสีมา 30240 โดยได้รับความอนุเคราะห์จาก นายมังกร ที่ได้ให้ความรู้และอธิบายความเป็นมาของปราสาทห้วยแคน

วันอังคารที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

ปราสาทห้วยแคนแดนอีสาน

อ้างอิง






ปราสาทห้วยแคนแดนอีสาน


อภิปรายผล ประโยชน์ ข้อเสนอแนะ

ประโยชน์ที่ได้รับจากการศึกษาข้อมูลข้างต้น ได้สืบทอดประวัติศาสตร์ของปรสาทห้วยแคนและได้ดำรงวัฒนธรรม ความเชื่อของบุคคลในทองถิ่นที่มีต่อปราสาทห้วยแคน และได้ความรู้เกี่ยวกับประวัติความเป็นมาของปราสาทห้วยแคน






ปราสาทห้วยแคนแดนอีสาน




วิธีการดำเนินงาน


1) วางแผนโครงงานและตั้งชื่อเรื่อง

2) สืบค้นข้อมูลที่จะศึกษา

3) สอบถามรายละเอียดจากคนในท้องถิ่น

4) ถ่ายภาพและเก็บข้อมูล

5) รวบรวมข้อมูลที่ได้มาขึ้นเว็บและอภิปรายผล

6) สรุปผลการศึกษา








สรุปผลการศึกษา


แหล่งโบราณสถานที่ได้ไปศึกษามานั้น เป็นโบราณสถานที่เก่าแก่และเป็นสถานที่ท่องเที่ยวแก่ผู้คนที่ผ่านไปมา ได้ชื่นชมความงดงามของปราสาทห้วยแคน และโบราณสถานแห่งนี้ควรแก่การอนุรักษ์ไว้ เพื่อให้คนรุ่นหลังได้ศึกษาเรียนรู้เกี่ยวกับประวัติศาสตร์แห่งนี้

วันอาทิตย์ที่ 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

ปราสาทห้วยแคนแดนอีสาน

ข้อมูลของภูมิปัญญาท้องถิ่นที่จะศึกษา

ปราสาทห้วยแคน บ้านห้วยแคน ตำบลห้วยแคน อำเภอห้วยแถลง จังหวัดนครราชสีมา 30240

จุดประสงค์
1.เพื่อศึกษาเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ของประเทศไทย
2.เพื่อเผยแพร่ประวัติศาสตร์ของประเทศไทย

3.เพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้แก่นักเรียน นักศึกษา และผู้ที่สนใจ เกี่ยวกับแหล่งโบราณคดี

4.เพื่อเผยแพร่วัฒนธรรมและภูมิปัญญาของเขมรโบราณ

5.เพื่อมีความรู้ความเข้าใจทรงไว้ซึงการอนุรักษ์ทำนุบำรุงแหล่งโบราณคดีในประเทศไทยต่อไป










































































































































ปราสาทห้วยแคนแดนอีสาน



โครงงานศึกษาภูมิปัญญาท้องถิ่นในอำเภอห้วยแถลง จังหวัดนครราชสีมา


โครงงานเรื่อง ปราสาทห้วยแคนแดนอีสาน


ครูผู้สอน ครู ศิริพร วีระชัยรัตนา


รายวิชา คอมพิวเตอร์

รหัสวิชา 40202

วิชา การนำเสนองานด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์

ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2552

โรงเรียนห้วยแถลงพิทยาคม

อ. ห้วยแถลง จ.นครราชสีมา 30240


ชื่อผู้รับผิดชอบโครงงาน

1.นางสาว ธัญฑิญา ทองจุน เลขที่ 1 ชั้น ม.4/1

2.นางสาว รัตนาภรณ์ เดชสูงเนิน เลขที่ 2 ชั้นม.4/1

3.นางสาว จตุพร แสนโคตร เลขที่ 37 ชั้น ม.4/1

4.นางสาว จารุวรรณ หมีแก้ว เลขที่ 38 ชั้น ม.4/1