วันเสาร์ที่ 27 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

ปราสาทห้วยแคนแดนอีสาน



อภิปรายผล ประโยชน์ ข้อเสนอแนะ


อภิปรายผล


ในการทำงานครั้งนี้ กล่มดิฉันมีความตั้งใจทำมาก และเพื่อที่จะให้ผลงานออกมาดีเป็นที่สนใจของทุกคนที่มาชม แม้ว่าจะมีอุปสรรคมากมาย แต่กลุ่มดิฉันไม่เเคยย่อท้อตั้งใจทำงานต่อไปเพื่อให้งานสำเร็จตามเป้าหมาย บางทีก็รู้สึกเหนื่อยและท้อ เมื่องานมีปัญหาคิดหาวิธีที่จะแก้ไขไม่ได้ บางทีงานก็ยังไม่เสร็จตามเวลาที่กำหนด ก็ต้องยืดเวลาไปอีกไม่รู้จะได้ส่งเมื่อไหร่ แต่ก็ดีที่เพื่อนๆในกลุ่มช่วยกันทำงาน หวังให้งานนี้สำเร็จลุล่วงด้วยดี และได้คำแนะนำจาก คุณครู ศิริพร วีระชัยรัตนา ที่ให้คำปรึกษาเกี่ยวกับการทำงานในคอมพิวเตอร์ การเข้าเว็บ gotoknow blogger และ learner ทำให้กลุ่มดิฉันเข้าใจในการทำงานที่มันอาจดูยากแต่สุดท้ายมันก็ง่ายกว่าที่เราคิด ถ้าเราไม่ลองที่จะทำอะไรแล้ว มันก็ไม่สามารถบอกให้เรารู้ได้ว่ารื่องไหนง่าย เรื่องไหนยาก และสุดท้ายนี้ขอขอบพระคุณ คุณตา มังกร ที่ให้ข้อมูลเกี่ยวกับโครงงานเรื่องนี้ ถ้าไม่มีท่านกลุ่มของดิฉันคงไม่สามารถทำโครงงานนี้ได้เพราะกว่าจะได้ข้อมูลมาก็ยก ไม่รูจะไปหาที่ไหน


ประโยชน์ที่ได้รับ


ได้สืบทอดประวัติศาสตร์ของปราสาทห้วยแคน และได้ดำรงวัฒนธรรม ความเชื่อของบุคคลในท้องถิ่นที่มีต่อปราสาทห้วยแคน ได้ความรู้เกี่ยวกับประวัติของปราสาทห้วยแคน และได้รู้ถึงความเป็นชาวเขมรโบราณที่สร้างปราสาทนี้ขึ้น
























ปราสาทห้วยแคนแดนอีสาน

ความสำคัญของโครงงาน

ปราสาทห้วยแคน บ้านห้วยแคน ต.ห้วยแคน อ.ห้วยแถลง จ.นครราชสีมา เป็นโบราณสถานขนาดเล็กก่อด้วยศิลาแลงจำนวน 1 หลัง หันหน้าไปทางทิศตะวันออก มีประตูทางเข้า ด้านหน้าเพียงประตูเดียว ผนังอาคารด้านทิศใต้เจาะช่องหน้าต่าง ส่วนผนังด้านทิศเหนือก่อทึบ โบราณสถานแห่งนี้ เป็นศาสนสถานในศาสนาพุทธลัทธิมหายาน เรียกอีกชื่อหนึ่งว่า ธรรมศาลา 1 ในจำนวน 121 แห่ง ที่พระเจ้าชัยวรมันที่ 7 (ครองราชย์ระหว่างปี พ.ศ. 2724-1761) แห่งอาณาจักรเขมร โบราณโปรดให้สร้างขึ้นตามเส้นทางสำคัญๆทั่วราชอาณาจักรของพระองค์

ปราสาทห้วยแคนแดนอีสาน


ที่มาของโครงงาน

การศึกษาภูมิปัญญาท้องถิ่นเรื่องนี้ เพื่อที่จะศึกษาและเผยแพร่แหล่งประวัติศาสตร์และแหล่งโบราณคดี ของปราสาทห้วยแคน ตำบลห้วยแคน อำเภอห้วยแถลง จังหวัดนครราชสีมา 30240 โดยได้รับความอนุเคราะห์จาก นายมังกร ที่ได้ให้ความรู้และอธิบายความเป็นมาของปราสาทห้วยแคน

วันอังคารที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

ปราสาทห้วยแคนแดนอีสาน

อ้างอิง






ปราสาทห้วยแคนแดนอีสาน


อภิปรายผล ประโยชน์ ข้อเสนอแนะ

ประโยชน์ที่ได้รับจากการศึกษาข้อมูลข้างต้น ได้สืบทอดประวัติศาสตร์ของปรสาทห้วยแคนและได้ดำรงวัฒนธรรม ความเชื่อของบุคคลในทองถิ่นที่มีต่อปราสาทห้วยแคน และได้ความรู้เกี่ยวกับประวัติความเป็นมาของปราสาทห้วยแคน






ปราสาทห้วยแคนแดนอีสาน




วิธีการดำเนินงาน


1) วางแผนโครงงานและตั้งชื่อเรื่อง

2) สืบค้นข้อมูลที่จะศึกษา

3) สอบถามรายละเอียดจากคนในท้องถิ่น

4) ถ่ายภาพและเก็บข้อมูล

5) รวบรวมข้อมูลที่ได้มาขึ้นเว็บและอภิปรายผล

6) สรุปผลการศึกษา








สรุปผลการศึกษา


แหล่งโบราณสถานที่ได้ไปศึกษามานั้น เป็นโบราณสถานที่เก่าแก่และเป็นสถานที่ท่องเที่ยวแก่ผู้คนที่ผ่านไปมา ได้ชื่นชมความงดงามของปราสาทห้วยแคน และโบราณสถานแห่งนี้ควรแก่การอนุรักษ์ไว้ เพื่อให้คนรุ่นหลังได้ศึกษาเรียนรู้เกี่ยวกับประวัติศาสตร์แห่งนี้

วันอาทิตย์ที่ 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

ปราสาทห้วยแคนแดนอีสาน

ข้อมูลของภูมิปัญญาท้องถิ่นที่จะศึกษา

ปราสาทห้วยแคน บ้านห้วยแคน ตำบลห้วยแคน อำเภอห้วยแถลง จังหวัดนครราชสีมา 30240

จุดประสงค์
1.เพื่อศึกษาเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ของประเทศไทย
2.เพื่อเผยแพร่ประวัติศาสตร์ของประเทศไทย

3.เพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้แก่นักเรียน นักศึกษา และผู้ที่สนใจ เกี่ยวกับแหล่งโบราณคดี

4.เพื่อเผยแพร่วัฒนธรรมและภูมิปัญญาของเขมรโบราณ

5.เพื่อมีความรู้ความเข้าใจทรงไว้ซึงการอนุรักษ์ทำนุบำรุงแหล่งโบราณคดีในประเทศไทยต่อไป










































































































































ปราสาทห้วยแคนแดนอีสาน



โครงงานศึกษาภูมิปัญญาท้องถิ่นในอำเภอห้วยแถลง จังหวัดนครราชสีมา


โครงงานเรื่อง ปราสาทห้วยแคนแดนอีสาน


ครูผู้สอน ครู ศิริพร วีระชัยรัตนา


รายวิชา คอมพิวเตอร์

รหัสวิชา 40202

วิชา การนำเสนองานด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์

ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2552

โรงเรียนห้วยแถลงพิทยาคม

อ. ห้วยแถลง จ.นครราชสีมา 30240


ชื่อผู้รับผิดชอบโครงงาน

1.นางสาว ธัญฑิญา ทองจุน เลขที่ 1 ชั้น ม.4/1

2.นางสาว รัตนาภรณ์ เดชสูงเนิน เลขที่ 2 ชั้นม.4/1

3.นางสาว จตุพร แสนโคตร เลขที่ 37 ชั้น ม.4/1

4.นางสาว จารุวรรณ หมีแก้ว เลขที่ 38 ชั้น ม.4/1